วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

           2.การออกแบบขั้นตอนวิธี จากมุมเทคโนโลยี

ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์

1.รับข้อมูลจากส์่อต่างๆและแสดงผลไปยังสื่อต่างๆ
2.คำนวณทางคณิตศาสตร์
3.เปรียบเทียบค่าสองค่า
4.เคลื่อนย้ายข้อมูนในหน่อวยความจำ

ความสามารของคำพิวเตอร์ตามลำดับก่อน-หลัง

1.การกำหนดค่าเริ่มต้น(initialization) คือ การกำหนดค่าตัวแปรบางชนิด
2.การรับข้อมูล(input) คือ การปรับตัวเข้ามาซึ่งตัวแปรได้จากการวิเคราะห์โจทย์ 
3.การคำนวณ(computation) คือ การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการคำนวณตามลำดับก่อน-หลัง

4.การแสดงข้อมูล(output) คือ การแสดงค่า ซึ่งจำทำหลังจากการรับข้อมูลและการคำนวณ ตัวแปรที่แสดงคือตัวแปลที่โจทย์ต้องการผลลัพธ์
5.การเปรียบเทียบหรือการเลือก(selection) เป็นการเลือกทิศทางการทำงาน โดยมีเงื่อนไขการเปรียบเทียบที่ชัดเจน

6.การเปรียบเทียบเชิงตรรกะ ดังตารางต่อไปนี้



3.การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหา

เป็นการถ่ายทอดความคิดโดยการเขียนคำบรรยายเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันทั่วไป

จงเขียนแผนผังสำหรับคำนวณหาพื้นที่วงกลม ทั้งนี้ให้รับค่ารัศมี และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ทางเครื่องพิมพ์
รายละเอียดของปัญหา  : การทำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
        การวิเคราะห์  : ขั้นตอนการทำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
การออกแบบขั้นตอนวิธี : 1.ตั้งหม้อ 2.ต้มน้ำให้เดือด 3.ใส่เส้นบะหมี่ 4.รอ 2 นาที
                      5.ใส่เครื่องปรุง 


4.การถ่ายถอดความคิดในการแก้ปัญหาโดยการใช้สัญลักษณ์ พร้อม 1 ตัวอย่าง
เป็นการถ่ายทอดความคิดในรูปแบบแผนภาพ ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เรียกว่า การเขียนแผนผัง(flowchart) ใช้สำหรับการสื่อสารขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาให้เข้าใจตรงกัน เช่น





5.การถ่ายถอดความคิดในการแก้ปัญหาโดยการใช้รหัสจำลอง พร้อม 1 ตัวอย่าง

เป็นรหัสคำสั่งที่ใช้เขียนเลียนแบบคำสั่งโปรแกรมอย่างย่อ รหัสจำลองจะใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ เช่น



วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

       1. ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลนีสารสนเทศ
      การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา (State the problem)
    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหา แต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามความสำคัญของขั้นตอนนี้
อยู่เสมอ จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือการทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร และสิ่งที่ต้องการคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผล ในการวิเคราะห์ปัญหาใด กล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ ดังนี้
          1) การระบุข้อมูลเข้า  ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา
          2) 
การระบุข้อมูลออก  ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ
          3) 
การกำหนดวิธีประมวลผล  ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีหาคำตอบหรือข้อมูลออก

     การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools and Algorithm development) 
    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา โดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆ ของปัญหาซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าว และสิ่งที่สำคัญคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือนั้นๆ ของผู้แก้ปัญหา
   การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation)
    หลังจากที่ได้ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่ได้เลือกไว้ หากการแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย  ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะที่ดำเนินการหากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้

   การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement)
    หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้ว ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ในทุกกรณีอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด




       



     

     
       สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวชนรัตน์ดา  บัวลอย

 อายุ16ปี เกิดวันที่12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/5

โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม














คุณตรูที่ปรึกษา คุณครู สุเทพ ชื่นบาน

สายการเรียน วิทย์-คนิต(EIS)

ชอบเรียนวิชา ศิลปะ คอมพิวเตอร์

คณะที่ไฝ่ฝัน 

ธรณีวิทยา เภสัชกร สัยว์แพทย์ สถาปัตย์ วิศวะฯ