วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

4.Creative Chapter 4 on mind mappingstyle
                                                                                                                                                                                                                                                    

   3 .Creative Chapter 3 on mind mappingstyle

    

                                                                                                                                                                            
  

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557


2.Answer 5 question on page 94

1.จงอธิบายความหมายของการเขียนโปรแกรมและขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม
 ตอบ
      ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย
  1.การวิเคราะห์ปัญหา
  2.การออกแบบโปรแกรม
  3.การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
  4.การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
  5.การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
                                                                                                                                                          
2.ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในการเขียนโปรแกรมมีภาษาใดบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
        1.ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถปฏิบัติงานตามคำสั่งได้ทันทีโดยไม่ต้องมีตัวแปลภาษาอื่นใดเข้ามาช่วย ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด โดยช่วงก่อนปี ค.ศ. 1952 เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ด้วยภาษาเครื่องภาษาเดียวเท่านั้น เนื่องจากยุคนั้นยังไม่มีการพัฒนาภาษาระดับอื่นๆ เข้ามาเพื่อช่วยในการทำงาน อีกทั้งคำสั่งของภาษาเครื่องจะใช้เลขฐานสอง คือ 0 กับ 1 แทนข้อมูล และคำสั่งต่างๆ ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือแต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องจักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่างๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมากไม่เหมาะสำหรับการพัฒนาโปรแกรมทางด้านธุรกิจ

       2.ภาษาระดับต่ำ (Low level language) เนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่ยากแก่การทำความเข้าใจและยากในการประยุกต์ใช่งาน ทำให้ผู้มีพัฒนารหัสและสัญลักษณ์มาแทนตัวเลข 0 กับ 1 โดยใช้อักขระในภาษาอังกฤษมามีส่วนร่วมในการสั่งงาน จึงทำให้มีการสั่งงานได้ง่ายยิ่งขึ้นแต่ก็ยังคงยากสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาโปรแกรม ซึ่งได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี ( Assembly language ) เกิดขึ้นปี ค.ศ. 1952 โดยภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ในสมัยนี้ แต่ท้าเปรียบเทียบใยสมัยนั้นถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ ถือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง แม้ว่าจะเป็นภาษาที่ใกล้เคียงภาษาเครื่องแต่ละโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีต้องใช้ แอสเซมบลี ( Assembly ) แปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการอีกทอดหนึ่ง

       3.ภาษาระดับสูง (High level Language) เริ่มถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดยภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่างๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ไดด้วยทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป

       4.ภาษาระดับสูงมาก (Very High-level Language) หรือภาษายุคที่ 4 (Fourth-Generation Language) หรือ 4 GLs เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่าภาษายุคก่อนๆ โดยภาษายุคที่4 นี้มีคุณสมบัติที่จะแยกภาษายุคก่อนอย่างชัดเจน กล่าวคือภาษาในยุคก่อนนั้นใช้หลักการของการเขียนโปรแกรม แบบโพรซีเยอร์ (Procedure Language) ซึ่ในขณะภาษายุคที่ 4 จะเป็นแบบ ไม่ใช่โพรซีเยอร์ (Non-Procedure Language) ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้างก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว

         และภาษายุคที่ 4 นี้ยังมีภาษาที่ใช้สำหรับเรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ เรียกว่า ภาษาเรียกค้นข้อมูล (Query language) โดยปกติแล้วการเก็บข้อมูล การแสดงรายการจากฐานข้อมูลต้อง จะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า แต่บางครั้งอาจมีการเรียกข้อมูลพิเศษทีไม่ได้มีการวางแผนไว้ถ้าผู้ใช้เรียนภาษาเรียกค้นข้อมูลก็ต้องดูรายงานต่างๆ นอกเหนือจากที่ได้มีการวางแผนไว้ได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก ภาษาเรียกค้นข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน เรียกว่า Query Bu Example หรือ QBE ที่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากเช่นกัน

       5.ภาษาธรรมชาติ (Nature language) เป็นภาษายุคที่ 5 Fifth Generation language หรือ 5GLs ธรรมชาติ หมายถึง ธรรมของมนุษย์ คือ ไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์ที่ต้องการลงในคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจซึ่งจะทำให้มีรูปแบบของคำสั่งหรือประโยคที่แตกต่างกันออกไปได้มากมาย เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะใช้ประโยคต่างกัน ใช้คำศัพท์ต่างกัน หรือแม้กระทั้งบางคนอาจจะใช้คำศัพท์แสลงก็ได้ คอมพิวเตอร์จะถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง ภาษาธรรมชาตจะใช้ ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base System) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่างๆ
                                                                                                                                                           

 3.จงอธิบายขั้นตอนการเริ่มสร้างโพรเจกต์ใหม่ด้วยโปรแกรม Microsoft Visual Studio
ตอบ
1) การเข้าสู่โปรแกรม คลิก Start >Programs >Microsoft Visual Studio 2008
2) การเริ่มสร้างโพรเจกต์ใหม่ คลิก Projact ของ Create จากนั้นคลิกที่ VisualC#
และเลือกปุ่ม Browse เพื่อให้ไฟล์ที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบในแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ และพิมพ์ชื่อไฟล์
3) แถบเมนู เป็นเมนูหลักที่รวบรวมคำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรม Microsoft Visual Studio 2008
4) แถบเครื่องมือ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียกใช้งานคำสั่งในเมนูบาร์ที่ใช้งานบ่อยครั้งทำได้สะดวกขึ้น
5) กล่องเครื่องมือ เป็นหน้าต่างที่แสดงกลุ่มควบคุม และส่วนประกอบต่างๆ
6) หน้าต่าง Form Design ออกแบบหน้าตาของแอพพลิเคชัน
7) หน้าต่าง Solution Explorer แสดงรายการของไอเท็ม
8) หน้าต่าง Properties Window แสดงและกำหนดคุณสมบัติเื้บื้องต้นของกลุ่มควบคุม
9) หน้าต่าง Code Editor หน้าต่างที่ใช้สำหรับเขียนโค้ดควบคุมการทำงานของแอพพลิเคชันตามที่ต้องการ
                                                                                                                                                            
4.การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีซาร์ป มีลักษณะอย่างไร
 ตอบ 
ภาษาซีชาร์ป(C#)เป็นภาษาเชิงวัตถุ ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากภาษาซีพลัสพลัส(C++)โดยบริาัทไมโครซอฟต์ซึ่งได้รวบรวมข้อ ดีของภาษาต่างๆ เช่น ภาษาจาวา(Java) ภาษาเดลไฟ(Delphi) ภาษาซีพลัสพลัส(C++)เข้าไว้ด้วยกัน มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานสูงขึ้น ซึ่งขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมดังที่กล่าวไปแล้วนั้นอาจยุ่งยากและซับซ้อน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ ปัจจุบันได้มีวอฟแวร์สำหรับช่วยพัฒนาโปรแกรมภาษา C# อยู่จำนวนมากให้เลือกใช้ซึ่งเพิ่มความสะดวกและลดข้อผิดพลาดได้มากหนึ่งในซอ ฟแวร์นั้นคือ Microsoft Visual studio 2008 
                                                                                                                                                              
5.เมื่อได้ออกแบบโปรแกรมที่ต้องการแล้ว และจะเริ่มสร้างโปรแกรมด้วยภาษาซีซาร์ป จะต้องมีขั้นตอนในการสร้างโปรแกรมอย่างไร
ตอบ 
        มีขั้นตอนในการพัฒนาอย่างเป็นลำดับ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.การวิเคราะห์ปัญหา  เป็นขั้นตอนของการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นของระบบงานปัจจุบัน จะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ดังนี้
1) ความเป็นไปได้ทางเทคนิค
2) ความเป็นไปได้ด้านบุคลากร
3) ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐสาสตร์

2.การออกแบบโปรแกรม เป็นการนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มาออกแบบโปรแกรม โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อให้การออกแบบเป็นมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งเครื่องมือในการออกแบบที่นิยมใช้ได้แก่ ผังงาน และรหัสจำลอง

3.การเขียนโปรแกรม  เป็นการนำผลที่ได้จากการออกแบบโปรแกรมด้วยผังงานหรือรหัสจำลอง มาแปลงเป็นคำสั่งของโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่อนำไปประมวลผลข้อมูลและได้ผลลัพธ์ของโปรแกรมต่อไป โดยผู้เขียนโปรแกรมสามารถเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ได้ตามความถนัดของแ่ต่ละบุคคล ต่อไป

4.การทดสอบโปรแกรม เป็นขั้นตอนการตรวจสอบความถููกต้องในการทำงาน และตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรม ดดยทั่วไปข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการเขียนโปรแกรมมี 3 ชนิด
1) ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์
2) ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นขณะรันโปรแกรม
3) ข้อผิดพลาดทางตรรกะ

5.การจัดทำเอกสารประกอบ  หมายถึง การเตรียมเอกสารอธิบายโปรแกรม ซึ่งมีความสำคัญและควรทำอย่างต่อเนื่องหลังจากการพัฒนาโปรแกรม ดดยทั่วไปเอกสารที่จัดทำมีอยู่สองประเภท คือ คู่มือผู้ใช้ และคู่มือนักเขียนโปรแกรมเมอร์  
                                                                                                                                                            
1.Choose between Activity 1or2 pages 68 and explain it into your blogger

กิจกรรมที่1 ให้นร.เลือกปัญหาในชีวิตประจำวันมา 1 ปัญหา แล้วเขียนอธิบายการถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยการใช้ข้อความหรือคำบรรยาย

รายละเอียดของปัญหา : ไม่รู้ลำดับขั้นตอนการทำแกงจืดไข่น้ำ

การวิเคราะห์         : นักเรียนวิเคราะห์จากแกงจืดไข่น้ำที่นักเรียนรับประทานได้ดังนี้
                     1.ผลลัพธ์คือแกงจืดไข่น้ำ
                     2.สิ่งนำเข้าคือเครื่องปรุง ได้แก่ หมูสับ ไข่ไก่ น้ำมันพืช หัวหอมใหญ่
                      น้ำ น้ำปลา พริกไทย กะหล่ำปลี กระเทียมเจียว และต้นหอม
                     3.วิธีการประมวลผลคือ ขั้นตอนการทำแกงจืดไข่น้ำ




วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

           2.การออกแบบขั้นตอนวิธี จากมุมเทคโนโลยี

ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์

1.รับข้อมูลจากส์่อต่างๆและแสดงผลไปยังสื่อต่างๆ
2.คำนวณทางคณิตศาสตร์
3.เปรียบเทียบค่าสองค่า
4.เคลื่อนย้ายข้อมูนในหน่อวยความจำ

ความสามารของคำพิวเตอร์ตามลำดับก่อน-หลัง

1.การกำหนดค่าเริ่มต้น(initialization) คือ การกำหนดค่าตัวแปรบางชนิด
2.การรับข้อมูล(input) คือ การปรับตัวเข้ามาซึ่งตัวแปรได้จากการวิเคราะห์โจทย์ 
3.การคำนวณ(computation) คือ การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการคำนวณตามลำดับก่อน-หลัง

4.การแสดงข้อมูล(output) คือ การแสดงค่า ซึ่งจำทำหลังจากการรับข้อมูลและการคำนวณ ตัวแปรที่แสดงคือตัวแปลที่โจทย์ต้องการผลลัพธ์
5.การเปรียบเทียบหรือการเลือก(selection) เป็นการเลือกทิศทางการทำงาน โดยมีเงื่อนไขการเปรียบเทียบที่ชัดเจน

6.การเปรียบเทียบเชิงตรรกะ ดังตารางต่อไปนี้



3.การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหา

เป็นการถ่ายทอดความคิดโดยการเขียนคำบรรยายเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันทั่วไป

จงเขียนแผนผังสำหรับคำนวณหาพื้นที่วงกลม ทั้งนี้ให้รับค่ารัศมี และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ทางเครื่องพิมพ์
รายละเอียดของปัญหา  : การทำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
        การวิเคราะห์  : ขั้นตอนการทำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
การออกแบบขั้นตอนวิธี : 1.ตั้งหม้อ 2.ต้มน้ำให้เดือด 3.ใส่เส้นบะหมี่ 4.รอ 2 นาที
                      5.ใส่เครื่องปรุง 


4.การถ่ายถอดความคิดในการแก้ปัญหาโดยการใช้สัญลักษณ์ พร้อม 1 ตัวอย่าง
เป็นการถ่ายทอดความคิดในรูปแบบแผนภาพ ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เรียกว่า การเขียนแผนผัง(flowchart) ใช้สำหรับการสื่อสารขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาให้เข้าใจตรงกัน เช่น





5.การถ่ายถอดความคิดในการแก้ปัญหาโดยการใช้รหัสจำลอง พร้อม 1 ตัวอย่าง

เป็นรหัสคำสั่งที่ใช้เขียนเลียนแบบคำสั่งโปรแกรมอย่างย่อ รหัสจำลองจะใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ เช่น



วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

       1. ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลนีสารสนเทศ
      การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา (State the problem)
    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหา แต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามความสำคัญของขั้นตอนนี้
อยู่เสมอ จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือการทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร และสิ่งที่ต้องการคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผล ในการวิเคราะห์ปัญหาใด กล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ ดังนี้
          1) การระบุข้อมูลเข้า  ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา
          2) 
การระบุข้อมูลออก  ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ
          3) 
การกำหนดวิธีประมวลผล  ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีหาคำตอบหรือข้อมูลออก

     การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools and Algorithm development) 
    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา โดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆ ของปัญหาซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าว และสิ่งที่สำคัญคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือนั้นๆ ของผู้แก้ปัญหา
   การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation)
    หลังจากที่ได้ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่ได้เลือกไว้ หากการแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย  ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะที่ดำเนินการหากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้

   การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement)
    หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้ว ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ในทุกกรณีอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด




       



     

     
       สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวชนรัตน์ดา  บัวลอย

 อายุ16ปี เกิดวันที่12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/5

โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม














คุณตรูที่ปรึกษา คุณครู สุเทพ ชื่นบาน

สายการเรียน วิทย์-คนิต(EIS)

ชอบเรียนวิชา ศิลปะ คอมพิวเตอร์

คณะที่ไฝ่ฝัน 

ธรณีวิทยา เภสัชกร สัยว์แพทย์ สถาปัตย์ วิศวะฯ